top of page

Feminista Talk EP3: อดทนเพราะรัก?

รูปภาพนักเขียน: FeministaFeminista



สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว บริบท ปัญหา การเข้าถึงความช่วยเหลือ


จากกรณีที่ผ่านมาในช่วงไม่กี่วันนี้ จะเห็นว่าประเด็นเรื่องความรุนแรงทางเพศ มีสถานการณ์ที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโควิด 19 ที่เป็นปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ การไม่สามารถออกไปนอกบ้านได้ ก็ส่งผลให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวมากขึ้น ปัญหานึงที่เป็นผลกระทบที่ได้รับจากความรุนแรงในครอบครัว คือเรื่องของสภาพจิตใจ ภาวะซึมเศร้า ทรอม่า กลัวการสร้างความสัมพันธ์ ที่ตามมาหลังจากนั้น นอกจากนี้คนที่เจอปัญหา Domestic Violence ก็อาจจะลงเอยด้วยการสูญเสียหรือกลายเป็นผู้กระทำความผิด ทำให้มีคำถามหลายๆคำถามเกิดขึ้นจากสังคมว่า ทำไมผู้หญิงจำนวนมากถึงยังอยู่กับคนที่ทำร้ายตัวเอง


คำถาม : ทำไมผู้หญิงจำนวนมาถึงอดทนอยู่กับสามีที่ทำร้ายตัวเอง


เวลามีข่าวเรื่องความรุนแรงในครอบครัวออกมา มักจะมีมีความเห็นหลายๆความเห็นตั้งคำถามว่า ทำไมผู้หญิงจึงยอมโดนทำร้าย ทำไมไม่เดินออกมา อดทนเพื่ออะไร ทำไมยังรักคนที่ทำร้ายร่างกาย ผู้หญิงสมัยนี้ก็สามารถทำงานอยู่ได้ด้วยตัวเองแล้ว



คำตอบ: เพราะมีปัจจัยหลายๆด้านที่ทำให้ผู้หญิงเดินออกมาจากความรุนแรงในทันทีไม่ได้ เช่น


  • ภาวะการพึ่งพิง ผู้หญิงจำนวนมากไม่ได้ทำงานมีเงินเป็นของตัวเอง ปกติจะพึ่งพารายได้ของสามี ทำให้ไม่มีเงินเก็บพอที่จะออกไปตั้งตัวได้ การจะออกจากความรุนแรงจึงเป็นเรื่องของปัจจัยทางการเงินด้วย

  • ความเชื่อแบบชายเป็นใหญ่ ที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ผู้หญิงจำนวนมากถูกหล่อหลอมมาให้ต้องเป็นแม่และเมียที่ดี ไฟในอย่านำออกไฟนอกอย่านำเข้า ทำให้หลายคนยอมอดทนเพื่อทำหน้าที่เมียและแม่ต่อไป เพราะถ้าขอความช่วยเหลือหรือหนีออกมา จะถูกมองว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี

  • ความเชื่อว่าเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ คือถ้าทำดีต่อคู่สัมพันธ์ จะสามารถเปลี่ยนแปลงนิสัยหรือทำให้เลิกตบตีได้

  • ความกลัวว่าลูกจะมีปัญหา ถ้าพ่อแม่เลิกกัน เชื่อว่าอดทนอยู่เพื่อลูก ให้ลูกเรียนจบก่อน ดูแลตัวเองได้ก่อน

  • ความกลัวว่าจะถูกตามไปทำร้าย ถ้าอีกฝ่ายมีอำนาจ มีอาวุธ ผู้หญิงก็จะยิ่งกลัวที่จะออกจากความสัมพันธ์ เพราะในหลายๆเคสผู้หญิงถูกขู่ฆ่า และมีหลายเคสที่ผู้หญิงถูกฆ่าจริงๆ และเจ้าหน้าที่ก็ให้ความคุ้มครองไม่ได้

  • สังคมที่อยู่แวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ญาติ ชุมชน ที่มักจะเกลี้ยกล่อมให้กลับไปอยู่กับสามีที่ใช้ความรุนแรง รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรม นักสังคมสงเคราะห์ต่างๆที่ไม่ตระหนักถึงอันตราย ผู้นำศาสนาที่มีบทบาทในชุมชนที่พยายามไกล่เกลี่ย

  • ระบบช่วยเหลือ สนับสนุน ที่ไม่ทำงานหรือใช้ไม่ได้จริง เช่น ศูนย์ร้องเรียน ช่วยเหลือต่างๆไม่ทำงาน ไม่มีการติดตามหรือไม่มีบุคลากรเพียงพอ ทำให้ผู้หญิงที่ร้องขอความช่วยเหลือไม่สามารถเข้าถึงการช่วยเหลือได้ และทำได้แค่อดทนอยู่ต่อไปเรื่อยๆ

  • สภาพจิตใจ เนื่องจากหลายคนถูกทำร้ายมายาวนาน ทำให้หมดความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า อยู่ไม่ได้ถ้าไม่พึ่งพิงสามี การจะลุกออกมาจากความสัมพันธ์ที่เลวร้าย แล้วต้องแบกรับปัญหาลำพังหรือเริ่มต้นชีวิตใหม่ จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการทำงานจากคนที่มีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเพื่อเสริfeminista-talk-ep3-อดทนเพราะร-กมพลังและมีการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ





ดู 89 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page