top of page

ผู้หญิงกับผลกระทบจากโรคระบาด Covid-19

รูปภาพนักเขียน: FeministaFeminista

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือโรคโควิด-19 ในขณะนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากทั่วโลกรวมแล้วมากกว่าหลักหมื่น ติดเชื้อแล้วเป็นแสนราย การระบาดของโรคร้ายแรงนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศต่างๆ เช่น การยกเลิกเที่ยวบิน การปิดประเทศ ปิดการค้า ปิดโรงเรียน และการเคลื่อนย้ายข้ามถิ่นของประชากร แต่รู้หรือไม่ว่า ผลกระทบของโรคระบาด ส่งผลให้เกิด #ความไม่เท่าเทียมทางเพศ #โดยเฉพาะกับผู้หญิง ที่ได้รับผล

กระทบหลายอย่างแตกต่างจากผู้ชาย ต่างกันอย่างไร นับอย่างเร็วๆ ก็ได้ตั้งหลายข้อ . . ————————— ✖️ รับศึกภาระงานบ้าน ✖️ เสี่ยงเสียงานเสียเงิน ✖️ เผชิญปัญหาความรุนแรงที่คนนอกไม่เข้าใจ ✖️ รับเชื้อไวรัสแถวหน้า ✖️ ขาดผ้าอนามัย ไม่ได้รับการรักษา ✖️ มีปัญหาสุขภาพจิต ชีวิตซึมเศร้า ✖️ อยู่ในสายตาเขา ไร้อำนาจต่อรอง ————————— #ไปดูรายละเอียดกันค่ะ . . #รับศึกภาระงานบ้าน เนื่องจากโรงเรียน หรือ สถานรับเลี้ยงเด็ก ถูกสั่งปิด ดังนั้น ผู้หญิงจำนวนมากต้องรับหน้าที่ดูแลเด็กอยู่ที่บ้าน ต้องคอยทำกับข้าวให้คนในบ้าน เช่น จากที่เคยทำวันละ 1-2 มื้อ ก็ต้องเพิ่มเป็น 3 มื้อ เพราะต้องอยู่บ้านกันตลอดเวลา นอกจากนี้งานบ้านก็ต้องเพิ่มขึ้นอีก เช่น ซักผ้า ตากผ้า ทำความสะอาดบ้าน ซึ่งต้องทำมากขึ้นอีกเพื่อป้องกันเชื้อโรค : #เสี่ยงเสียงานเสียเงิน ผู้หญิงหลายคนทำงานนอกบ้าน ช่วยกันรับภาระร่วมกับสามี แต่เมื่อลูกไม่ได้ไปโรงเรียน อย่างน้อยต้องมีคนดูแลลูกที่บ้าน หากไม่มีตัวช่วยภายในบ้านแล้ว ผู้หญิงมักเป็นฝ่ายต้องลางานมาเลี้ยงลูก แนวโน้มส่วนใหญ่คือให้ผู้ชายเป็นฝ่ายออกไปทำงานนอกบ้าน แต่เมื่อผู้หญิงต้องละทิ้งงานประจำมา อาจถูกเลิกจ้างไปเลย หรือนายจ้างฉวยโอกาสเอาเปรียบลดค่าตอบแทน : #เผชิญปัญหาความรุนแรงที่คนนอกไม่เข้าใจ การต้องอยู่กับบ้านมากขึ้น หลายครั้งไม่ใช่ผลดีเสมอไป เพราะการถูกจำกัดบริเวณยาวนาน พร้อมกับรับภาระต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อความเครียดในครอบครัวได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ชายออกไปทำงาน พบความเครียด กลับมาที่บ้าน ผู้หญิงก็มีเรื่องเครียดเช่นกัน ผลลัพธ์ก็คือ เครียด+เครียด แต่กรณีผู้ชายกับผู้หญิง ทำงานที่บ้านด้วยกันทั้งคู่ ในสภาวะที่ไม่สะดวกหลายอย่าง ก็ทำให้ทั้งสองฝ่ายอาจเกิดความเครียดได้พอๆ กัน ผลลัพธ์ก็ยังจะเป็น เครียด+เครียด เมื่อพากันเครียดมากๆ บรรยากาศร้าวฉานก็มักจะตามมา เกิดเหตุกระทบกระทั่งกันมากขึ้น ยิ่งอยู่ในที่จำกัดร่วมกัน ปัญหาอาจลุกลามไปสู่ความรุนแรงมากขึ้น ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า หากเกิดความรุนแรงขึ้นภายในบ้าน เพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็อาจมองว่าเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย เรื่องของผัวเมีย ไม่รับทำคดีให้ #รับเชื้อไวรัสแถวหน้า มีรายงานว่า ผู้ที่ทำหน้าที่รักษาพยาบาลกว่า 70% ทั่วโลกเป็นผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นพยาบาล ผู้ดูแลคนไข้ ฯลฯ จากการต้องทำหน้าที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย ผู้หญิงแถวหน้าเหล่านี้ จึงมีความเสี่ยงมากเป็นพิเศษในการรับเชื้อไวรัสฯ เข้าสู่ร่างกาย #ขาดผ้าอนามัย #ไม่ได้รับการรักษา ร่างกายและระบบอนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงกับผู้ชายมีรายละเอียดต่างกัน ผู้หญิงจำนวนมากต้องได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทาง เช่น การตั้งครรภ์ การคลอดบุตร ปัญหาที่มดลูก-รังไข่ ปัญหาที่อวัยวะเพศ

การระบาดของไวรัสฯ ทำให้ผู้หญิงอาจเข้าถึงบริการทางการแพทย์เฉพาะทางยากขึ้น หากถูกจำกัดการเดินทาง หรือมีความไม่ปลอดภัยหากเข้าไปใช้บริการใช้สถานพยาบาล นอกจากนั้น ถ้าระบบขนส่งมีปัญหามากขึ้น หรือเกิดการขาดแคลนสินค้า ผู้หญิงอาจได้รับผลกระทบจนไม่มีผ้าอนามัยใช้ก็ได้ การมีเลือดประจำเดือนไหลตลอดเวลาโดยไม่มีสิ่งรองรับ คือเรื่องที่ส่งผลต่อสุขภาพทั้งกายใจ #มีปัญหาสุขภาพจิต #ชีวิตซึมเศร้า กรณีผู้หญิงต้องรับภาระหนักขึ้นภายในบ้าน มีงานบ้านต้องทำมากขึ้น หรือบางคนต้องอยู่กับเด็กตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่มีผู้ช่วย ผสมผสานกับปัญหาอื่นๆ เช่น การขาดรายได้ที่เคยได้รับจากงานประจำ เกิดความวิตกกังวลต่ออนาคต มีความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือบางคนต้องรองรับอารมณ์สามีมากขึ้น ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต ภาวะซึมเศร้า ซึ่งไม่ง่ายที่จะแก้ไขเยียวยาได้อย่างรวดเร็ว ผู้หญิงจำนวนมาก ยังเสี่ยงจะต้องเก็บความทุกข์ไว้กับตัวเอง เข้าไม่ถึงความช่วยเหลือต่างๆ มีคนมองไม่เห็นปัญหาสุขภาพจิตที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้น #อยู่ในสายตาเขา #ไร้อำนาจต่อรอง อีกข้อหนึ่งที่สำคัญมาก คือปัจจุบันนี้ มีผู้หญิงที่เป็นแรงงานข้ามชาติอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะแรงงานประเทศแถบเอเชีย ในอาชีพแม่บ้าน คนทำความสะอาด คนเลี้ยงเด็ก การระบาดของโคโรน่าไวรัส หรือ Covid-19 ทำให้แรงงานข้ามชาติเหล่านี้ต้องตกงาน หรือถูกลดชั่วโมงทำงาน ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจตามมา แรงงานข้ามชาติผู้หญิงจำนวนมาก ยังมักจะพักอาศัยภายในบ้านของนายจ้าง หรือจำเป็นต้องพักอาศัยในที่ที่นายจ้างเข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้พบกับความเครียดมากขึ้น งานหนักขึ้น มีอำนาจการต่อรองน้อยลง จะเห็นได้ว่า ปัญหาเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องควรมองข้ามเลยแม้แต่น้อย . . อันที่จริง นอกจากกลุ่มผู้หญิงแล้ว กลุ่มเปราะบางอื่นๆ ก็ยังได้รับผลกระทบแตกต่างกันไปอีก เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนไร้บ้าน กลุ่มแรงงานรับจ้างรายวัน ฯลฯ ถ้าอยากอ่านในรายละเอียดมากขึ้น ไปอ่านต่อเพิ่มเติมได้ ในบทความของ UNFPA และ BBC ค่ะ ♥️ . . ที่มาของข้อมูล : https://bit.ly/3dp0zhS https://www.bbc.com/news/world-asia-5170519




ดู 150 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page