ถ้ามีคนถามว่า สังคมไทยมีความเท่าเทียมทางเพศแล้วหรือยัง คุณจะตอบว่าอย่างไร?
.
.
“ก็เท่ากันแล้วนะ ผู้หญิงทุกวันนี้ทำอะไรได้เยอะแยะ ผมมองไม่เห็นว่าผู้หญิงมีโอกาสไม่เท่าผู้ชายตรงไหน”
.
.
“ไม่รู้สิ ที่บ้านพ่อแม่ทำงานนอกบ้านทั้งคู่ งานในบ้านก็ช่วยๆกัน
เลยไม่เห็นความไม่เท่าเทียม”
.
.
“ความไม่เท่าเทียมมันมี แต่คนส่วนใหญ่มองไม่เห็น เพราะมันเป็นเรื่องละเอียด"
.
.
“เราอยู่กรุงเทพ อาจไม่ค่อยเจอความไม่เท่าเทียม แต่พอกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัด มันมีความไม่เท่าเทียมเต็มไปหมด”
.
.
และนี่คือบางส่วนของคำตอบต่อคำถามเรื่องความเท่าเทียมทางเพศในบทความ
“คำถามเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ”
โดยวราภรณ์ แช่มสนิท ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะผู้หญิง
.
.
ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิค ฉบับที่ 220 เดือนพฤศจิกายน ปี 2562 ที่ผ่านมาค่ะ
.
.
ตัวนิตยสารมีธีมหลักคือ “ผู้หญิง ศตวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง”
แอดมีโอกาสได้อ่านฉบับนี้แล้วคิดว่าอยากแนะนำให้เพื่อนๆได้อ่านกัน
เพราะไม่ใช่แค่บทความของ อ.วราภรณ์ ที่พูดถึงความเท่าเทียมทางเพศเท่านั้น
แต่ในฉบับนี้ ยังมีเรื่องเล่ามากมายเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศทั้งจากประเทศไทยและทั่วโลกค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นคอลัมน์ เรื่องเล่าของผู้หญิงที่ลุกมาเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ เช่น
.
.
เรื่องเล่าจากผู้หญิงอินเดียที่ต่อสู้เพื่อสิทธิในการเลือกตั้ง
เรื่องเล่าจากผู้หญิงเคนย่าที่ลุกมาทำงานเรื่องผ้าอนามัยแบบนำมาใช้ได้สำหรับเด็กๆ
เรื่องเล่าของผู้หญิงในสนามรบที่อเมริกา
หรือเรื่องเล่าจากผู้หญิงพิการชาวจอร์แดนที่เคลื่อนไหวเรื่องสิทธิในการเข้าถึงการบริการต่างๆในที่สาธารณะ
.
.
นอกจากนั้นยังมีข้อมูลอินโฟกราฟฟิกที่เผยให้เห็นสถิติต่างๆจากทั่วโลกซึ่งสะท้อนความไม่เท่าเทียมทางเพศ เช่น
.
.
สถิติด้านการเข้าถึงมือถือ และอินเตอร์เน็ตของผู้หญิง ที่มีผลต่อสถานะของผู้หญิง ตัวอย่างนึงคือ จากสถิติแสดงให้เห็นว่า ประชากรราวร้อยละ 35 ในภูมิภาคซับสะฮาราแอฟริกา ไม่สามารถเข้าถึงเครือข่าย 3จี ส่งผลให้ไม่สามารถรับบริการทางการเงินบนมืถือ และทำให้ผู้หญิงถูกควบคุมทางการเงินโดยผู้ชายได้ต่อไป
.
.
คอลัมน์ที่น่าสนใจอีกชิ้น คือเรื่อง สิทธิในชีวิตที่ปลอดภัย โดย นิลัญชนา โภว์มิก ที่นำเสนอเรื่องราวของผู้หญิงอินเดียกับการเดินทางในที่สาธารณะ เช่น การเดินในที่เปลี่ยวตอนกลางคืน การขึ้นรถไฟฟ้า การมีโบกี้รถไฟสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ และการฝึกการป้องกันตนเองเมื่อเกิดเหตุการณ์ถูกคุกคามทางเพศ
.
.
อีกหนึ่งคอลัมน์ที่น่าอ่าน คือ “ผู้หญิงอยู่ตรงไหนในวงการวิทยาศาสตร์” โดย แองเจลา ไชนี
.
.
“นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังส่วนใหญ่ล้วนเป็นผู้ชาย นับจากปี 1901 เป็นต้นมา ร้อยละ 96.7 ของผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลเป็นผู้ชาย รายงานจากองค์กรสหประชาชาติเผยว่า ทุกวันนี้นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ของโลกไม่ถึงร้อยละ 30 เป็นผู้หญิง แต่ละขั้นบันไดที่สูงขึ้นไปในระบบงานวิจัยวิทยาศาสตร์ จะเห็นจำนวนผู้มีส่วนร่วมเป็นเพศหญิงน้อยลงเรื่อยๆ “
.
.
นอกจากคอลัมน์ที่พูดถึงสถานการณ์ความไม่เท่าเทียมทางเพศจากทั่วโลก ในฉบับนี้ยังมีภาพถ่ายผู้หญิงที่สะท้อนตัวตนในแต่ละพื้นที่ แต่ละประเทศ พร้อมเรื่องเล่าของพวกเขาเหล่านั้นด้วยค่ะ
.
.
แอดอ่านแล้วคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ
เลยอยากแนะนำให้ลองอ่านกันค่ะ
.
.
บทความ ความเท่าเทียมทางเพศ คำถามที่สังคมไทยต้องขบคิด
อ่านอ่อนไลน์ได้ที่ http://bit.ly/2FOAj0E
Comments