#คำถาม :
"ผมสนใจแนวคิดเฟมินิสมานานแล้ว ความที่ชายเป็นใหญ่นั้นเป็นภัยต่อความเท่าเทียมทางเพศอย่างมากก่อให้เกิด Toxic masculinity ต่างๆ แต่เผอิญผมเป็นผู้ชายอะครับไม่แน่ใจว่าคุณเฟมินิสจะรังเกียจไหม พอมีสิทธิที่จะสมัครเป็นเฟมินิสบ้างได้ไหมครับ"
(สะกดตามต้นฉบับที่ส่งเข้ามา)
😎 #คำตอบค่ะ
ถ้าให้สรุปก่อนโดยย่อๆ ก็ตอบได้ทันทีว่า
┏━━━━━━━━━━┓
ระบบชายเป็นใหญ่ ไม่ได้หมายถึงตัวปัจเจกบุคคลค่ะ แต่เป็นระบบที่ส่งผลกระทบต่อทุกๆเพศ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศใดๆ ก็สามารถสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศได้ค่ะ
┗━━━━━━━━━━┛
.
.
เอาละ ทีนี้ มาตอบต่อยาวๆ เพิ่มอีกนะคะ
#แต่ถ้ายาวไปไม่อ่านกลับขึ้นไปอ่านข้างบนก็ได้ใจความล่ะค่ะ 😆
.
.
#คำตอบยาว : (เตือนว่า ยาวจริงๆ นะ) ☺️
หนึ่งในคำถามยอดนิยมค่ะ ถามกันมาบ่อยๆ ถามมาเสมอ ถามมาทุกช่วงเวลาในประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้
#ผู้ชายเป็นเฟมินิสต์ได้มั้ย?
นี่เป็นคำถามคลาสสิคที่แท้ทรู ต้องเจอในทุกๆ การเคลื่อนไหว
┏━━━━━━━━━━┓
หนึ่งในภารกิจของการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศ คือการทำความเข้าใจระบบชายเป็นใหญ่ ซึ่งกดทับคนทุกเพศ ไม่แต่เฉพาะเพศหญิงหรือเพศหลากหลาย
เพศชายเองก็อยู่ในโครงสร้างเดียวกันค่ะ
┗━━━━━━━━━━┛
.
.
😌 มาฟังตัวอย่างกัน
.
.
❌ เด็กผู้ชายมักถูกสอนว่าต้องเข้มแข็ง
❌ ไม่ร้องไห้
❌ เป็นผู้นำ
❌ แพ้ไม่ได้
ฯลฯ
คำสอนพวกนี้ หล่อหลอมมาตั้งแต่ระดับครอบครัว ไปจนถึงสถาบันต่างๆในสังคม
ทำให้หลายครั้งเวลาผู้ชายมีเรื่องเศร้าเสียใจ หรือเรื่องน่าผิดหวังในชีวิต ไม่สามารถจะบอกใครได้
┏━━━━━━━━━━┓
เราจึงเห็นโศกนาฏกรรม เช่น การตัดสินใจฆ่าตัวตายของเหล่าผู้นำครอบครัว ในภาวะที่เผชิญกับความล้มเหลวในชีวิต เช่น เป็นหนี้สิน หาเลี้ยงครอบครัวไม่ได้
ทั้งที่จริงๆแล้ว หากเราได้มาคุยกัน ช่วยหาทางออกกันสักนิด อาจจะมีทางอื่นที่ดีกว่า
หรือแม้แต่การถูกล่วงละเมิดทางเพศ เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น เด็กผู้ชายหรือผู้ชายไม่กล้าที่จะบอกใคร เพราะอาจถูกล้อเลียนหรือตีตรา ทำให้ต้องเก็บงำเรื่องนี้ไว้ลำพัง
┗━━━━━━━━━━┛
นี่จึงเป็นตัวอย่างหนึ่งของระบบชายเป็นใหญ่ที่ส่งผลโดยตรงต่อตัวผู้ชาย
.
.
ดังนั้น #ผู้ชายในฐานะปัจเจก จึงไม่ใช่ตัวปัญหาที่ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมทางเพศ
แต่เป็นตัว “ระบบ” ที่ทำให้สังคมให้อำนาจเพศชายในการใช้อำนาจกดทับคนเพศอื่นๆที่มีอำนาจน้อยกว่า แม้กระทั่งเพศชายด้วยกันเอง 😏
.
.
ต่อคำถามที่ว่า ผู้ชายเป็นเฟมินิสต์ได้มั้ย?
จึงขอบอกว่า #ได้แน่นอน
เพราะไม่ว่าใครก็ตามแต่ที่
✅ มองเห็นปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศ
✅ อยากเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ดีขึ้น
✅ สนับสนุนแนวคิดเฟมินิสม์
คนๆ นั้นย่อมเรียกตัวเองว่าเป็นเฟมินิสต์ได้ ไม่ว่าจะเป็นเพศชาย หญิง เกย์ ทอม ดี้ เลส ไบ นอน ไบนารี่ เควียร์ ♥️
.
.
ในประสบการณ์ของแอดเอง สมัยเรียนอยู่ในประเทศอินเดีย ทุกๆ ครั้งที่ไปร่วมเดินขบวนประท้วงเรื่องเพศ เช่น ประเด็นการข่มขืน การใช้ความรุนแรงในครอบครัว แอดเห็นผู้ชายจำนวนมากมาร่วมขบวน ชูป้ายประท้วง และต่อสู้กับขบวนการเฟมินิสต์ในอินเดียเสมอค่ะ
แม้ว่าสถิติความรุนแรงทางเพศในอินเดียจะสูงกว่าประเทศไทย แต่กลับเห็นกลุ่มผู้ชายจำนวนมากเรียกตัวเองว่า เฟมินิสต์ และทำงานขับเคลื่อนสังคมเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศ
แน่ละว่า ความรุนแรงทางเพศยังคงมีอยู่ แต่การมีผู้ชายเข้าร่วมขบวนการต่อสู้ ก็ย่อมทำให้เกิดพลังมากกว่าที่กลุ่มผู้หญิงจะสู้แต่เพียงลำพังใช่มั้ยล่ะ
ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม
ว่าแล้ว เรามาช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดสังคมที่เท่าเทียมทางเพศ ในทุกมิติกันเถอะนะ
และยินดีที่จะต้อนรับคุณสู่หนึ่งในขบวนการเฟมินิสต้า
#มาเป็นเฟมินิสต์กันค่ะแล้วจะรู้ว่าโลกนี้จะดีขึ้นจริงๆ 😁
.
.
Comments